ระเบียบการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการฝึกงาน
วันทำงาน เวลาการทำงาน และเวลาพัก
-
โดยทั่วไปวันทำงานปกติ คือ 5 หรือ 6 วัน หรือ ตามที่สถานประกอบการกำหนด
-
เวลาการทำงานปกติไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมง โดยมีเวลาพักรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หรือตามที่สถานประกอบการกำหนด
-
หัวหน้างานหรือผู้จัดการแผนกจะเป็นผู้กำหนดวัน เวลาการทำงาน และเวลาพักผ่อนของนิสิตฝึกงาน
-
นิสิตฝึกงานที่ไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ จะต้องแจ้งสถานประกอบการให้ทราบโดยด่วน
-
นิสิตฝึกงานที่หยุดงาน หรือขาดงานเกิน 3 วัน โดยไม่ได้รับการอนุญาต จะถูกยกเลิกการเป็นนิสิตฝึกงานจากสถานประกอบการทันที
ตารางกำหนดการทำงาน
-
นิสิตฝึกงานต้องปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาที่หัวหน้างานได้จัดให้อย่างเคร่งครัด หากนิสิตฝึกงานเปลี่ยนแปลงเวลาการปฏิบัติงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานเท่านั้น
-
นิสิตฝึกงานจะต้องเข้า – ออกงานตามที่สถานประกอบการกำหนด หากเข้างานสาย
หรือเลิกงานก่อนเวลาทำการปกติ นิสิตฝึกงานจะถูกพิจารณาทางวินัยของสถานประกอบการ
ระเบียบในการเข้า - ออกงาน
-
นิสิตฝึกงานจะต้องสแกนบัตรเข้า - ออก หรือลงชื่อของตนเองเท่านั้น ห้ามใช้ของคนอื่น
หรือห้ามให้คนอื่นทำให้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเวลาการเข้า - ออกงานให้สอบถามจากฝ่ายฝึกอบรมหรือแผนกทรัพยากรบุคคลหรือผู้ที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง
การแต่งกาย (เครื่องแบบ)
1.กรณีที่สถานประกอบการมีเครื่องแบบให้
-
นิสิตฝึกงานจะต้องสวมเครื่องแบบให้ถูกต้องตามที่สถานประกอบการกำหนด
-
นิสิตต้องดูแลความสะอาด ความเรียบร้อย ของเครื่องแบบในขณะปฏิบัติหน้าที่
-
ห้ามนิสิตแต่งกายด้วยเครื่องแบบของสถานประกอบการออกนอกสถานที่ไม่ว่ากรณีใดๆ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากทางสถานประกอบการ
-
กรณีได้รับการอนุญาตให้นิสิตแต่งกายด้วยเครื่องแบบของสถานประกอบการ นิสิตจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัด
-
2.กรณีที่แต่งกายด้วยชุดนิสิตของมหาวิทยาลัย
-
นิสิตฝึกงานจะต้องแต่งกายตามระเบียบการแต่งกายของมหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานประกอบการด้วย
การใช้โทรศัพท์
-
ห้ามนิสิตฝึกงานใช้โทรศัพท์ของสถานประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต
-
ห้ามนิสิตฝึกงานใช้โทรศัพท์ของสถานประกอบการทำธุระส่วนตัว
-
ห้ามนิสิตฝึกงานเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ทุกชนิดในขณะปฏิบัติงาน
บุคคลภายนอก
-
ห้ามนิสิตฝึกงานนัดพบบุคคลภายนอกไม่ว่ากรณีใดๆ ในสถานประกอบการ
-
กรณีมีธุระเร่งด่วนที่ต้องติดต่อกับบุคคลภายนอก ให้นิสิตฝึกงานแจ้งกับหัวหน้างานหรือแผนกทรัพยากรบุคคลก่อน และสถานที่นัดพบนั้นจะต้องเป็นสถานที่สถานประกอบการกำหนดไว้เท่านั้น
ตู้ล็อคเกอร์
-
กรณีที่สถานประกอบการจัดให้มีตู้ล๊อคเกอร์สำหรับนิสิตฝึกงาน นิสิตจะต้องดูแลรักษากุญแจของตู้ล็อคเกอร์เป็นอย่างดี และห้ามทำสูญหาย หรือนำไปให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตยืมโดยเด็ดขาด
-
กรณีที่ทำกุญแจล๊อคเกอร์สูญหายให้รีบแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องโดยด่วน
-
อย่านำสิ่งของที่มีมูลค่าเก็บไว้ในตู้ล๊อคเกอร์โดยเด็ดขาด
-
การสูญหายของสิ่งของที่มีมูลค่าที่นิสิตฝึกงานเก็บไว้ในตู้ล๊อคเกอร์จะไม่มีผู้รับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆ
การนำทรัพย์สินออกจากสถานประกอบการ
-
ห้ามนำทรัพย์สินใดๆ ของสถานประกอบการออกนอกสถานประกอบการ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้จัดการแผนกที่สังกัดอยู่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น ทรัพย์สินที่ได้รับอนุญาตให้นำออก
นอกสถานประกอบการจะต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้จัดการแผนกที่สังกัดอยู่และเจ้าหน้าที่
รักษาความปลอดภัยตรวจสอบก่อนนำออกไป
วันหยุด
1.วันหยุดประจำสัปดาห์
-
นิสิตฝึกงานจะมีวันหยุดประจำสัปดาห์ๆ ละ 1-2 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถาประกอบการกำหนด
-
กรณีเปลี่ยนแปลงวันหยุดประจำสัปดาห์นั้นให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสถานประกอบการ
2.วันหยุดตามประเพณี
-
นิสิตฝึกงานสามารถหยุดงานตามประเพณีในปีนั้นๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานประกอบกำหนด
-
กรณีวันหยุดตามประเพณีตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้นิสิตฝึกงานหยุดชดเชยตามประเพณีในวันทำงานต่อไป ทั้งนี้สถานประกอบเป็นผู้พิจารณา
กฎระเบียบในการลาหยุดงาน
-
นิสิตฝึกงานที่ประสงค์จะขอลาหยุดงานจะต้องขอกรอกใบลาหยุดงาน โดยให้เป็นไปตามระเบียบการลาหยุดงานของสถานประกอบการ
-
การยื่นใบลาหยุด จะต้องยื่นต่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบล่วงหน้าก่อนอย่างน้อย 3 วันทำการ และจะหยุดงานได้ก็ต่อเมื่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบได้ลงนามอนุมัติ
-
กรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถขออนุญาตลาหยุดล่วงหน้าได้ ให้นิสิตฝึกงานแจ้งให้หัวหน้าผู้รับผิดทราบโดยเร็วที่สุด และยื่นใบลาหยุดด้วยตนเองทันทีที่กลับเข้ามาปฏิบัติงาน และ/หรือชี้แจงให้ทราบด้วยวาจา
-
การลาป่วย นิสิตฝึกงานจะต้องยื่นใบลาป่วยพร้อมกับแนบใบรับรองแพทย์ต่อหัวหน้าผู้รับผิดชอบและแผนกทรัพยากรบุคคล กรณีที่มีเหตุให้ต้องลาป่วยทางโทรศัพท์ หากเป็นไปได้นิสิตควรแจ้งข้อมูลลาป่วยด้วยตนเอง และห้ามมิให้เพื่อนร่วมงานลาป่วยแทน
-
การแจ้งความเท็จไม่ว่ากรณีใดๆ ต่อผู้บังคับบัญชาหรือมหาวิทยาลัยจะถือเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรง
กฎระเบียบทางวินัย
ความผิดสถานเบา โดยการกระทำความผิดต่อไปนี้
-
การเข้างานสายเกินกว่าที่สถานประกอบการที่กำหนดหรือเลิกงานก่อนเวลาปกติ
-
การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือการบริการต่างๆ ของสถานประกอบการที่ไม่ได้รับอนุญาต
-
สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวสิ่งของขณะทำงาน
-
นำบุคคลภายนอกเข้ามาโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
-
นอนหลับขณะปฏิบัติหน้าที่
-
ปกปิด หรือช่วยปกปิด ละเมิดข้อบังคับของนิสิตฝึกงานคนอื่นที่ออกนอกสถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาตในระหว่างการปฏิบัติงาน
กฎระเบียบทางวินัย
ความผิดสถานหนัก โดยการกระทำความผิดต่อไปนี้
-
หยุดงานโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้า
-
ไม่ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ ข้อบังคับการปฏิบัติงานของสถานประกอบการ
-
ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยของสถานประกอบการ
-
เสพสุรา หรือสิ่งเสพติดให้โทษในขณะปฏิบัติงาน
-
การใช้กิริยาวาจาไม่สุภาพ ดูหมิ่น เหยียดหยามหรือละเลย เพิกเฉยต่อบุคลากรในสถานประกอบการและผู้ใช้บริการ
-
ละทิ้งหน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย
-
ปัญหาชู้สาว
-
ปัญหาการทะเลาะวิวาท
บทลงโทษ
-
กรณีนิสิตฝึกงานกระทำผิดครั้งแรก อาจารย์ผู้ดูแลนิสิตฝึกงานจะตักเตือนด้วยวาจา และจัดทำบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
-
กรณีนิสิตฝึกงานกระทำความผิดเป็นครั้งที่ 2 จะมีคำสั่งให้หยุดการฝึกงาน หรือขยายเวลาการฝึกงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบการ
-
กรณีนิสิตฝึกงานกระทำความผิดร้ายแรง และสถานประกอบการมีความประสงค์ให้หยุดการฝึกงาน สถานประกอบการสามารถส่งตัวนิสิตกลับได้ทันที
ตารางกำหนดการทำงาน
-
นิสิตฝึกงานต้องปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาที่หัวหน้างานได้จัดให้อย่างเคร่งครัด หากนิสิตฝึกงานเปลี่ยนแปลงเวลาการปฏิบัติงาน จะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานเท่านั้น
-
นิสิตฝึกงานจะต้องเข้า – ออกงานตามที่สถานประกอบการกำหนด หากเข้างานสาย
หรือเลิกงานก่อนเวลาทำการปกติ นิสิตฝึกงานจะถูกพิจารณาทางวินัยของสถานประกอบการ
ระเบียบในการเข้า - ออกงาน
-
นิสิตฝึกงานจะต้องสแกนบัตรเข้า - ออก หรือลงชื่อของตนเองเท่านั้น ห้ามใช้ของคนอื่น
หรือห้ามให้คนอื่นทำให้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเวลาการเข้า - ออกงานให้สอบถามจากฝ่ายฝึกอบรมหรือแผนกทรัพยากรบุคคลหรือผู้ที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง